วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ไทยพาณิชน์ประกันชีวิต

บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต

ประวัติความเป็นมา


         บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ  SCBLIFE  ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2519   มีทุนจดทะเบียน 800 ล้านบาท และเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของประเทศให้บริการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รวมทั้งประกันกลุ่ม แก่ทั้งลูกค้าบุคคล และสถาบัน   บริหารงานและดำเนินธุรกิจด้วยมาตรฐานสากล ซื่อสัตย์ โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล และมีตัวแทนมืออาชีพที่มคุณภาพโดยมีรางวัลจากสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นเครื่องรับรอบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำกัด (มหาชน)เป็นหนึ่งบริษัทในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกของประเทศมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มั่นคงและมีฐานะการเงินแข็งแกร่งมีเครือข่ายสาขาและจุดให้บริการมากที่สุดในประเทศไทยซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในตลาดการให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้าบุคคลและมีบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มทั้งลูกค้าบุคคลลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง  ขนาดย่อม และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 
รากฐานแห่งความมั่นคง  สู่ความสำเร็จที่คุณมั่นใจ
        ตลอด 30 ปีที่เปิดดำเนินการบริษัทมุ่งมั่นในการดูแล และสร้างหลักประกันทางการเงินที่มั่นคงให้แก่ชาวไทยและพัฒนากรมธรรม์และบริการใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าจนได้รับความไว้วางจากลูกค้าชาวไทยอย่างมากมาย ส่งผลให้บริษัทเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มั่นคงและมีคุณภาพอย่างยั่งยืนซึ่งจะเป็นแรงผลักดัน เสริมสร้างให้ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต พร้อมจะเดินเคียงข้าง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่มั่นคง และก้าวที่ไกลยิ่งกว่าของลูกค้าชาวไทยต่อไป ดังคำขวัญที่ว่า  “ไปด้วยกัน ไปได้ไกล
ผลการดำเนินงานในรอบ 10 ปี  (2544-2553)

                     เติบโตอย่างมั่นคง และแข็งแกร่งทั้งฐานะการเงินเบี้ยประกันรับรวมฐานะการเงิน





เบี้ยรับรวม 

วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ
       วิสัยทัศน์ 
             บริษัทประกันชีวิตที่คุณไว้วางใจ
       พันธกิจ 
             เราจะเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินและความสำเร็จของลูกค้

Core Competencies
Service Mind
        บริการด้วยใจ
Communicate Openly
        การสื่อสารอย่างเปิดเผย
Business Acumen
        รอบรู้ในธุรกิจ
Leadership
        ผู้นำที่ยอดเยี่ยม
Integrity
        มีคุณธรรม
Forward Thinking
        มีวิสัยทัศน์
Effective Teamwork
        ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ




หน้าที่และปัญหาแต่ละแผนก 
1.ฝ่ายบัญชี 
                หน้าที่  บันทึกข้อมูลทางการเงินที่สำคัญของบริษัทเช่น รายรับ-รายจ่าย, การเบิกถอนเงินงบประมาณของแต่แผนก, ยอดค่าใช้จ่ายในแต่ละแผนกของแต่ละเดือนเป็นต้น และทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร
                ปัญหา
                                -มีเอกสารมากจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
                                -ค้นหาเอกสารยากเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -เอกสารสูญหายเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -เกิดการคำนวณรายรับรายจ่ายของบริษัทผิดพลาด
                                -การตรวจสอบข้อมูลของการเงินทำได้ช้า

2.ฝ่ายบุคคล
                หน้าที่ จัดการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงานการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน, การดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงาน เป็นต้น
                ปัญหา
                                 -มีเอกสารมากจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
                                 -ค้นหาเอกสารยากเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -เอกสารสูญหายเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -ไม่รู้จำนวนที่แท้จริงของพนักงานในบริษัท
                                -ไม่รู้เวลาที่แน่นอนของการเข้า-ออกการทำงานของพนักงาน
                                -เนื่องจากมีพนักงานจำนวนมาก ถ้าต้องการจะแก้ไขข้อมูลของพนักงานอาจทำให้ข้อมูลผิดพลาด และยากต่อการแก้ไข

3.ฝ่ายขายประกันชีวิต
                หน้าที่ สนอการขายประกัน และเป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง แสวงหาลูกค้าจากตลาดใหม่ๆ จากการลงพื้นที่ และปรับปรุงแก้ไขเทคนิคการขาย
                ปัญหา
                                -มีเอกสารมากจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
                                -ค้นหาเอกสารยากเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -เอกสารสูญหายเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -ข้อมูลในการนำเสนอลูกค้าอาจไม่ครบถ้วนชัดเจน
                                -เอกสารเกี่ยวกันการทำสัญญาอาจไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดได้
                                -ไม่รู้จำนวนยอดขายของแต่ละเดือน
                                -ไม่รู้ตำแหน่งที่จะลงพื้นที่ให้บริการการขายประกัน

4.ฝ่ายประชาสัมพันธ์
                หน้าที่ รวบรวมข้อมูลติดต่อและโฆษณาเกี่ยวกับบริษัท รวมทั้งสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ
                ปัญหา
                                -มีเอกสารมากจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
                                -ค้นหาเอกสารยากเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -เอกสารสูญหายเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
                                -ข้อมูลในการการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือการโฆษณาอาจไม่ครบถ้วนชัดเจน
ปัญหาระหว่างแผนก
ฝ่ายบัญชี-ฝ่ายบุคคล
                -เกิดการผิดพลาดในการให้เงินเดือนกับพนักงาน
ฝ่ายบัญชีกับ-ฝ่ายขายประกันชีวิต
                -ไม่รู้จำนวนเงินที่แน่นอนที่ฝ่ายขายประกันชีวิตต้องการจะเบิก
ฝ่ายบัญชี-ฝ่ายประชาสัมพันธ์
                -ฝ่ายบัญชีไม่ทราบยอดที่แน่นอนในการใช้จ่ายของฝ่ายประชาสัมพันธ์
ฝ่ายบุคคล-ฝ่ายบัญชี
                -ถ้าฝ่ายบุคคลไม่รู้ข้อมูลของพนักงาน และเวลาการเข้าออกทำงานของพนักงานก็ไม่สามารถส่งข้อมูลในการจัดการเงินเดือนของพนักงานให้บัญชีได้ทราบได้
 ฝ่ายบุคคล-ฝ่ายขายประกันชีวิต
                -ฝ่ายบุคคลไม่รู้ว่าพนักงานคนไหนจะลงพื้นที่ในการขายประกัน
ฝ่ายขายประกันชีวิต-ฝ่ายบัญชี
                -ทำให้ล่าช้าในการของบประมาณ
ฝ่ายขายประกันชีวิต-ฝ่ายบุคคล
                -การแจ้งการลงพื้นที่ของพนักงานล้าช้า
ฝ่ายขายประกันชีวิต-ฝ่ายประชาสัมพันธ์
                -การส่งข้อมูลนโยบายของการขายประกันให้ประชาสัมพันธ์โฆษณาล่าช้า หรือข้อมูลอาจไม่ครบถ้วน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์-ฝ่ายบัญชี
                -ทำให้ล่าช้าในการของบประมาณ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์-ฝ่ายขายประกันชีวิต
                -ข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายขายประกันไม่ชัดเจน
สรุปปัญหาทั้งหมด
1.มีเอกสารมากจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2.ค้นหาเอกสารยากเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
3.ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาด
4.เอกสารไม่ถูกต้อง
5.เอกสารสูญหายเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก
6.ข้อมูลไม่ครบถ้วนชัดเจน
7.ยากต่อการแก้ไขข้อมูลของพนักงาน
8.เกิดการล้าช้าในการตรวจสอบข้อมูล
9.เกิดการผิดพลาดในการคำนวณรายรับ-รายจ่าย
10.ทำให้ล่าช้าในการของบประมาณ
11.เกิดการผิดพลาดในการให้เงินเดือนกับพนักงาน
12.ไม่ทราบยอดที่แน่นอนในการใช้จ่ายของแต่ละแผนก
13.ไม่รู้จำนวนยอดขายที่แน่นอน
14.ไม่รู้จำนวนพนักงานในบริษัท 
15.ไม่รู้เวลาการทำงานของพนักงานที่แท้จริง
16.ไม่รู้ตำแหน่งที่จะลงพื้นที่ให้บริการการขายประกัน
17.ข้อมูลในการนำเสนอลูกค้าอาจไม่ครบถ้วนชัดเจน
18.การส่งข้อมูลการขายประกันให้ประชาสัมพันธ์โฆษณาล่าช้า
19.ข้อมูลในการการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไม่ถูกต้องไม่ชัดเจน
20.ช่องทางในการโฆษณาไม่กว้างพอ


ระบบที่จะนำมาแก้ปัญหา
1.ระบบการจัดเก็บเอกสาร
2.ระบบการแก้ไขข้อมูล
3.ระบบบัญชีรายรับรายจ่าย
5.ระบบการจัดส่งเอกสาร
6.ระบบการประชาสัมพันธ์
7.ระบบการจัดหาพื้นที่บริการ
8.ระบบการจัดการบริหารฝ่ายบุคคล

แสดงการจำแนกกิจกกรม(Activities) ของหน้าที่การทำงาน(Functions)ในบริษัท

ขั้นตอนที่1
การค้นหาและเลือกสรรโครงการ

(
Project Identification and Selection)
จากการค้นหาโครงการของแผนกต่าง ๆ  สามารถรวบรวมโครงการพัฒนาระบบได้ทั้งหมด  2  โครงการดังนี้

ชื่อโครงการ
แผนก
1.ระบบจัดการด้านบัญชี
บัญชี
2.ระบบการให้บริการด้านการขายประกันชีวิต
ขายประกันชีวิต
3.ระบบงานบุคคล
บุคคล

จำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่ค้นหามา

โครงการทั้ง 2 ที่สามารถค้นหามาได้ มีวัตถุประสงค์ของโครงการที่แตกต่างกันดังนี้
1.โครงการจัดการระบบบัญชี
               
วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำระบบงานด้านบัญชีให้มีความสะดวกต่อผู้ใช้ระบบ และพัฒนาการจัดการระบบงานบัญชีให้มีประสิทธิจากเดิมที่เคยมีปัญหาในด้านต่างๆ เช่นการจัดการด้านเอกสาร การคำนวณเงิน การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย การจ่ายเงินเดือนพนักงาน การจัดสรรงบประมาณ เป็นต้น
2.โครงการพัฒนาการให้บริการด้านการขายประกันชีวิต
                วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านการให้บริการด้านการขายประกันชีวิตให้มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า และสร้างสิ่งดึงดูดใจลูกค้าเพื่อที่จะมาใช้บริการกับทางบริษัท เช่นการให้ของสมนาคุณ หรือการคืนกำไรให้กับลูกค้า
3.โครงการจัดระบบงานบุคคล
                วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาจัดการระบบทางด้านฝ่ายบุคคลให้เป็นระบบมากขึ้น เช่นการจัดเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบ การจัดการบันทึกเวลาเข้าออกการทำงานของพนักงาน การจัดการบันทึกประวัต และการแก้ไขข้อมูล เป็นต้น
                เมื่อได้ทำการพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง3โครงการแล้ว ก็จะนำทั้ง3โครงการมาเปรียบเทียบแล้วเลือกว่าโครงการใดมีวัตถุประสงค์ตามความต้องการของบริษัทมากที่สุด ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้


วัตถุประสงค์(Objectives)
ระบบบัญชี
ระบบ
การขายประกัน
ระบบบุคคล
1.เพิ่มลูกค้าให้กับบริษัท
-
X
-
2.เพิ่มรายได้ให้กับบริษัท
-
X
-
3.สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท
X
X
X
4.เพิ่มคุณภาพให้กับบริษัท
X
X
X
5.เพิ่มประสิทธิภาพให้กับพนักงาน
X
X
X

เลือกโครงการที่เหมาะสม
               
จากตารางเปรียบเทียบโครงการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท พบว่าโครงการพัฒนาการให้บริการด้านการขายประกันชีวิต ตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทมากที่สุด แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงงบประมาณและสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทแล้วเห็นควรว่าจะต้องนำโครงทั้ง 3 มาพิจารณาตามข้อจำกัดเพิ่มเติม ดังจะแสดงรายละเอียดในตารางดังต่อไปนี้ 
 ตารางเมตริกซ์ Information System-to-Objectives

                     ระบบสารสนเทศ
              (
Information System)

วัตถุประสงค์(Objectives)
และผลประโยชน์
ระบบจัดการด้านบัญชี
ระบบให้บริการด้านการขายประกันชีวิต
ระบบงานบุคคล
วัตถุประสงค์ตามแผนกลยุทธ์:



1.เพิ่มลูกค้าให้กับบริษัท
-
X
-
2.เพิ่มรายได้ให้กับบริษัท
-
X
-
3.สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท
X
X
X
4.เพิ่มคุณภาพให้กับบริษัท
X
X
X
5.เพิ่มประสิทธิภาพให้กับพนักงาน
X
X
X
ขนาดโครงการ:



1.ขนาดเล็ก
X
X
X
2.ขนาดกลาง
-
X
-
3.ขนาดใหญ่
-
-
-
ผลประโยชน์:



1.เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้า
-
X
-
2.แต่ละแผนกสามารถส่งข้อมูลหากันได้ และใช้ข้อมูลร่วมกันได้
X
X
X

3.สามารถค้นหาข้อมูลได้ถูกต้อง และรวดเร็ว
X
X
X

4.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
X
X
X

5.จัดทำรายงานได้อย่างรวดเร็ว
X
X
X

6.เพิ่มยอดขายให้มากขึ้น
-
X
-


               จากการพิจารณาทั้ง
 3 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดโครงการ และผลประโยชน์ จะพบว่าระบบที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ ระบบการให้บริการด้านการขายประกันชีวิต รองลงมา คือ ระบบจัดการด้านบัญชีและ ระบบงานบุคคล แต่ข้อจำกัดทางด้านเงินลงทุนดังนั้นทางบริษัทจึงเลือกโครงการพัฒนาการให้บริการด้านการขายประกันชีวิต อีกอย่างเป็นโครงการที่มีขนาดกลางที่บริษัทสามารถให้เงินทุนในส่วนนี้ได้
การเสนอแนวทางเลือก ในการนำระบบพัฒนาระบบการขายประกันมาใช้งาน
                แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยจะบอกถึงรายระเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้ ระบบการขายประกันชีวิต ระบบจัดเก็บข้อมูลลูกค้า  โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิน
 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่
 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaged Software)
ทางเลือกที่
 2 ว่าจ้างบริษัทจากภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ (Outsourcing)
ทางเลือกที่
 3 ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development)

ทางเลือกที่ 1 : การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป(Packaged Software)มีรายละเอียดดังตาราง

ลำดับที่

ความต้องการการใช้ระบบ/เงื่อนไขการพัฒนา
แนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทาง
หาซื้อ Software A
หาซื้อ Software B
ความต้องการในระบบTOR
1
หน้าที่การทำงาน
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
2
ความยืดหยุ่น
ปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
ไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
เงื่อนไข
1
ต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบ
200,000
170,000
2
การบริการหลังติดตั้งแล้วเสร็จ
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน 3 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน 3 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
3
คู่มือประกอบการใช้งาน
มีคู่มือสำหรับผู้ใช้งาน พร้อมสอบถามปัญหาได้ทางโทรศัพท์หรือ e-mail
มีคู่มือสำหรับผู้ใช้งาน พร้อมสอบถามปัญหาได้ทางโทรศัพท์หรือ e-mail
4
ระยะเวลาการทำระบบเสร็จ
45วัน
30วัน

การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น
 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ทีมงาน/ซอฟต์แวร์
เปรียบเทียบการใช้น้ำหนัก( คะแนนเต็ม10 )
หาซื้อ Software 1
หาซื้อ Software 2
หัวหน้าทีม(นักวิเคราะห์ระบบ)
4
3
โปรแกรมเมอร์ 1
2
2
โปรแกรมเมอร์ 2
3
3
รวม
9
8
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
90%
80%
เกณฑ์ที่ได้
ดีมาก
ดี
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกใช้ซอฟต์แวร์1 มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ทางเลือกที่ 2ว่าจ้างบริษัทจากภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ (Outsourcing)มีรายละเอียดดังตาราง

ลำดับที่

ความต้องการการใช้ระบบ/เงื่อนไขการพัฒนา
แนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทาง
ว่าจ้างบริษัท1
ว่าจ้างบริษัท2
ความต้องการในระบบTOR
1
หน้าที่การทำงาน
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
2
ความยืดหยุ่น
ปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
ไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
เงื่อนไข
1
ต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบ
450,000
470,000
2
การบริการหลังติดตั้งแล้วเสร็จ
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน 2 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน 2 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
3
คู่มือประกอบการใช้งาน
มีคู่มือสำหรับผู้ใช้งาน พร้อมสอบถามปัญหาได้ทางโทรศัพท์หรือ e-mail
มีคู่มือสำหรับผู้ใช้งาน พร้อมสอบถามปัญหาได้ทางโทรศัพท์หรือ e-mail
4
ระยะเวลาการทำระบบเสร็จ
40วัน
1เดือน

การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น
 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง


ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ทีมงาน/ซอฟต์แวร์
เปรียบเทียบการใช้น้ำหนัก( คะแนนเต็ม10 )
ว่าจ้างบริษัท 1
ว่าจ้างบริษัท 2
หัวหน้าทีม(นักวิเคราะห์ระบบ)
3
3
โปรแกรมเมอร์ 1
3
3
โปรแกรมเมอร์ 2
2
3
รวม
9
8
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
90%
80%
เกณฑ์ที่ได้
ดีมาก
ดี
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกว่าจ้างบริษัท2 มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

ทางเลือกที่
 3ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development)มีรายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่
ความต้องการการใช้ระบบ/เงื่อนไขการพัฒนา
ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
ความต้องการในระบบTOR

1
หน้าที่การทำงาน
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
2
ความยืดหยุ่น
ปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
เงื่อนไข

1
ต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบ
150,000
2
การบริการหลังติดตั้งแล้วเสร็จ
ฝึกอบรมแก่ผู้ใช้รวมถึงบำรุงรักษาระบบให้เห็นปัจจุบัน
3
คู่มือประกอบการใช้งาน
จัดทำคู่มือประกอบการใช้งาน
4
ระยะเวลาการทำระบบเสร็จ
60วัน

การประเมินแนวทางเลือกที่ 3  ไม่มี ในที่นี้ไม่มีข้อเปรียบเทียบ
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3          
                ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำ โดยใช้ระยะเวลาดำ เนินการจำนวนทั้งสิ้น
 60วัน  และมีค่าใช้จ่ายในการดำ เนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 150,000 บาท 
เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม

                ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทาง จะนำ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางทั้งสามตามที่ได้นำโดยมีรายละเอียดดั้งตารางนี้

ลำดับที่

ความต้องการการใช้ระบบ/เงื่อนไขการพัฒนา
แนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทาง
การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ซอฟต์แวร์1
ว่าจ้างบริษัทจากภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ บริษัท1
ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
ความต้องการในระบบTOR
1
หน้าที่การทำงาน
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการที่ได้จัดทำไว้
2
ความยืดหยุ่น
ปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
ปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
ปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบโครงสร้างหลักขององค์กร
เงื่อนไข
1
ต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบ
200,000
450,000
150,000
2
การบริการหลังติดตั้งแล้วเสร็จ
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน 3 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน 2 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ฝึกอบรมแก่ผู้ใช้รวมถึงบำรุงรักษาระบบให้เห็นปัจจุบัน
3
คู่มือประกอบการใช้งาน
มีคู่มือสำหรับผู้ใช้งาน พร้อมสอบถามปัญหาได้ทางโทรศัพท์หรือ e-mail
มีคู่มือสำหรับผู้ใช้งาน พร้อมสอบถามปัญหาได้ทางโทรศัพท์หรือ e-mail
จัดทำคู่มือประกอบการใช้งาน
4
ระยะเวลาการทำระบบเสร็จ
45วัน
40วัน
60วัน

ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
                หลังจากหัวหน้าทีมงาน(นักวิเคราะห์ระบบ)
ได้ทำการเปรียบเทียบและให้ข้อเสนอแนวทางเลือกทั้งสามทางแก่ผู้บริหารเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ ก่อนที่จะนำเสนอแนวทางเลือกในการพัฒนาระบบใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้
ทีมงาน/ซอฟต์แวร์
เปรียบเทียบการใช้น้ำหนัก( คะแนนเต็ม10 )
การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ว่าจ้างบริษัทจากภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ 
ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
หัวหน้าทีมงานผู้บริหาร
3
3
3
ทีมงานผู้บริหาร 1
3
2
3
ทีมงานผู้บริหาร 2
2
2
3
รวม
8
7
9
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
80%
70%
90%
เกณฑ์ที่ได้
ดี
ดี
ดีมาก

สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ

                ทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ(In-House Development) เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและคุ้มค่ากับการลงทุน

ขั้นตอนที่2
การวางแผนโครงการและกำหนดความต้องการของระบบ
เป้าหมาย   นำระบบพัฒนาระบบการขายประกันมาใช้งานภายในเดือน เมษายน 2555
วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาด้านการให้บริการด้านการขายประกันชีวิตให้มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า   และสร้างสิ่งดึงดูดใจลูกค้าเพื่อที่จะมาใช้บริการกับทางบริษัท เช่นการให้ของสมนาคุณ หรือการคืนกำไรให้กับลูกค้า
ขอบเขตของระบบ โครงการพัฒนาระบบการขายประกัน ได้มีการจัดทำขึ้นโดยทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบเดิมทั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบ มีรายระเอียดดังต่อไปนี้

                1.ระบบจะต้องใช้งานได้ง่าย
                2.ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
                3.ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
                4.ระบบจะต้องส่งผ่านข้อมูลหากันได้
                5.ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
                 1.เอกสารมีเป็นจำนวนมากแล้วยังเก็บไม่เป็นระเบียบจึงยากแก่การค้นหาข้อมูล และยังทำให้เอกสารสุญหายได้
                2.ข้อมูลในการนำเสนอลูกค้าอาจไม่ครบถ้วนชัดเจน รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซึ้งเป็นเอกสารสำคัญอาจไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดได้
                3.ไม่รู้จำนวนยอดขายของแต่ละเดือน
                4.ไม่รู้ตำแหน่งที่จะลงพื้นที่ให้บริการการขายประกัน
ความต้องการของระบบใหม่
                1.
ความรวดเร็วของระบบใหม่
                2.ระบบสามารถจัดการเอกสารได้เป็นอย่างดี
                3.สามารถค้นหาเอกสารได้ง่าย ถูกต้อง และรวดเร็ว
                4.สามารถค้นหาข้อมูลที่มีความน่าสนใจ และน่าเชื่อถือเพื่อไปนำเสนอลูกค้า
                5. สามารถบันทึกข้อมูลที่สำคัญได้ เช่นข้อมูลยอดขายรายเดือนและรายปี, ประวัติลูกค้า, ตำแหน่งการลงพื้นที่ขายประกัน เป็นต้น
                6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่าย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาระบบใหม่
               
1.ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น
                2.ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
                3.มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น
                4.ลดระยะเวลาการทำงาน
                5.ค้นหาข้อมูลได้ถูกต้อง และรวดเร็ว
                6.พนักงานทุกคนและทุกแผนกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
                7.บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในการนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
แนวทางในการพัฒนา
 
                การพัฒนาระบบการให้บริการลูกค้ามีแนวทางการดำเนินงานตามวงจรพัฒนาระบบ System Development Life Cycle : SDLC ในรูปแบบ Adapted Waterfall เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทแล้วสามารถแบ่งได้ทั้งหมด7ขั้นตอน
                1.การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
                2.การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
                3.การวิเคราะห์ระบบ
                4.การออกแบบเชิงตรรกะ
                5.การออกแบบเชิงกายภาพ
                6.การพัฒนาและติดตั้งระบบ
                7.การซ่อมบำรุงระบบ
สรุปการพัฒนาระบบโดยให้หลักของ
SDLC.
ขั้นตอนการพัฒนามี7ขั้นตอนมีดั้งนี้
ขั้นตอนที่  1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection)
                เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
            ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัทไทยพานิชประกันชีวิตข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ 
            -  การเพิ่มยอดขาย
            -  การจัดเก็บเอกสาร
            -  การหาพื้นที่ในการขายประกัน
ขั้นตอนที่  2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
                เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
1. เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
2. กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
3.  วางแผนการทำงานของระบบใหม่
ขั้นตอนที่  3  การวิเคราะห์
                1.ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม  ดูว่าการทำงานของบริษัทมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม 
            2.การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ  ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
                3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่  4  การออกแบบเชิงตรรกะ
                เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน  ซึ่งในการออกแบบระบบ  ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน  ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น ในการซื้อขายก็จะมีแบบฟอร์มในการซื้อขายสินค้าให้ลูกค้ากรอก  หรือแม้แต่แบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลของสินค้าและการออกแบบฐานข้อมูลในโปรแกรมต่าง ๆ
ขั้นตอนที่  5  การออกแบบเชิงกายภาพ
                ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  โปรแกรมสำเร็จรูป  เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น  ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป 
ขั้นตอนที่   6   การพัฒนาและติดตั้งระบบ
         ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม  เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่  อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้  หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่  ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
1.เขียนโปรแกรม
2.ทดสอบโปรแกรม
3.ติดตั้งระบบ
4.จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่   7   การซ่อมบำรุงระบบ
          อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ  เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว  เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด



แผนการดำเนินงานของโครงการ
                แผนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบงานขาย มีดังต่อไปนี้
                                1.ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
                                2.ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
                                3.ประมาณการใช้งบประมาณ
                                4.ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

1. ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้งคนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร

ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน20 เครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 5เครื่อง

ทรัพยากร
จำนวน
บุคลากรที่มีความรู้ด้านโปรแกรม
-นักวิเคราะห์ระบบ
-โปรแกรมเมอร์
1 คน
2คน
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
-คอมพิวเตอร์ลูกข่าย
-อุปกรณ์ต่อพ่วง
5เครื่อง
5 เครื่อง


สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการพัฒนาระบบการขายประกัน
1.  ผู้จัดการ
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
-นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์

150,000
2.พนักงาน
-ฝึกอบรมพนักงานและผู้บริหาร 10 คน
-วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ
3,000
500
3.จัดชื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
-เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นWorkstation
-อื่นๆ
75,000
20,000
4.ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินงาน
-ค่าบำรุงระบบ
-จัดชื่อเก็บข้อมูลสำรอง
30,000
2000
รวม
280,500

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
                ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการโครงการพัฒนาการให้บริการด้านการขายประกันชีวิต จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ถึงเดือนเมษายน 2555 เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบของบริษัท

ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบการขายประกันชีวิต ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาและได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น ดั้งนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
-ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
            บุคคลผู้ตอบแบบสอบถามคือ พนักงานฝ่ายขายประกัน การใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเนื่องจากทีมงานสามารถกำหนดหัวข้อในแบบสอบถามได้ จึงได้รายละเอียดมากกว่าการสัมภาษณ์ เพราะสามารถเก็บข้อมูลได้มากตามที่ตั้งคำถาม อีกทั้งยังให้อิสระแกผู้ให้ข้อมูล และยังไม่เป็นการรบกวนเวลาการทำงานของพนักงานมากเกิน และยังได้ความคิดเห็นจากพนักงานหลายๆคนอีกด้วย

ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้
                จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบงานเดิม การออกแบบสอบถามสามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่

1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
                1. เครื่องแม่ข่าย (Server) จำนวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows XP
                2. เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน 20 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ(Operating System)Windows XP ซอฟต์แวร์ สำหรับงานสำนักงาน Microsoft Office2003
               แผนกบัญชีใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี Microsoft Excel สำหรับคำนวณเงินเดือนพนักงาน และรายรับรายจ่ายของบริษัท
               
 แผนกฝ่ายประกันชีวิตใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานใช้ Microsoft Excelสำหรับเก็บบันทึก และคำนวณยอดขาย และใช้Microsoft Word ในการบันทึกรายงานการลงพื้นที่การขายประกัน และเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า
            แผนกบุคคลใช้โปรแกรม Microsoft Word ในการจัดเก็บข้อมูลพนักงาน บันทึกวันขาดงานของพนักงาน และจัดทำ รายงานต่าง ๆ
                แผนกประชาสัมพันธ์ใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Word สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ลูกค้ามาสอบถาม และใช้ในการทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับบริษัทในการนำไปประชาสัมพันธ์
                3. อุปกรณ์ต่อพ่วงได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Jet) จำนวน3เครื่อง เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet) จำนวน 2เครื่อง

 2. ความต้องการในระบบใหม่ 
1. ต้องการซอฟต์แวร์ที่มีความทันสมัย เช่นwindows 7 และ Microsoft 2007 หรือ2010
2. ระบบคำนวณในด้านต่างๆ อัตโนมัติ
3. ระบบค้นหาข้อมูลที่มีความรวดเร็ว
4. ระบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้สะดวก
ความต้องการของระบบใหม่
                จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จังได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1.ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้มีความทันสมัย
2.สามารถคำนวณในด้านต่างๆได้ ถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น
3.สามารถค้นหาข้อมูลได้ไวขึ้น
4.มีระบบบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกได้รวดเร็ว
5.มีระบบการค้นหาสถานที่ในการลงพื้นที่ขายประกัน
6.สามารถส่งข้อมูลภายในบริษัทได้
                เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการดังกล่าวข้างต้น สามารถแบ่งการทำ งานของระบบ พัฒนาระบบงานบัญชี ออกเป็น
 2 ระบบย่อย ดังนี้
1.ระบบจัดการข้อมูลการขายประกัน
                เป็นระบบเพื่อจัดการข้อมูลเอกสารสำคัญในการทำประกัน เช่นการทำสัญญา การจัดการข้อมูลลูกค้า การตรวจสอบข้อมูลยอดขาย

 2.ระบบการจัดการเอกสาร
                เป็นระบบที่ช่วยในการจัดการด้านเอกสารข้อมูลสำคัญต่างๆ ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังช่วยในการค้นหา แก้ไขข้อมูล และบันทึกข้อมูล ช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูล

ขั้นตอนที่4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
จำลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ
หลังจากโครงการพัฒนาระบบงานแผนกการขายประกันชีวิต ได้รับการอนุมัติแล้ว ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้

แผ่นภาพบริบท


อธิบาย Context Diagram
แผนกขายประกัน
-ขอดูยอดการขายประกันในแต่ละเดือนจึงรายงานยอดให้แผนก
-ขอดูข้อมูลลูกค้าจึงส่งข้อมูลของลูกค้าให้แผนก
แผนกบุคคล
-ขอรายชื่อพนักงานที่เข้ามาใหม่จึงส่งข้อมูลพนักงานไปให้
แผนกประชาสัมพันธ์
-ขอข้อมูลที่จะให้ประชาสัมพันธ์จึงส่งรายละเอียดข้อมูลไปให้
แผนกบัญชี
-
อยากทราบยอดขายที่จะส่งระบบจึงแจ้งยอดขายให้กับบัญชี

แผ่นภาพระดับ 0 


แผ่นภาพระดับ 1



ขั้นตอนที่5
การออกแบบ User Interface


 1.เลือกระบบที่ต้องการจะทำงาน มีระบบจัดการข้อมูลการขายประกัน เลือกข้อมูลยอดขาย และมีระบบการจัดการเอกสาร เลือกข้อมูลลูกค้า


 2.ในส่วนของข้อมูลยอดขาย มีแบบฟอร์มบันทึกยอดขาย โดยกรอกข้อมูล ตามหัวข้อและบันทึกข้อมูล


3.ในส่วนของข้้อมูลลูกค้า มีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลลูกค้า โดยกรอกข้อมูล ตามหัวข้อและบันทึกข้อมูล



ขั้นตอนที่6

การพัฒนาและติดตั้งระบบระบบ

ทีมงานได้จัดทำ เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบงานบัญชี เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำ งานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. แนะนำ โปรแกรมระบบงานแผนกประกันชีวิต


                โปรแกรมระบบงานแผนกประกันชีวิต เป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 2 ระบบ ได้แก่
                1. ระบบจัดการข้อมูลการขายประกัน เป็นระบบที่จัดการข้อมูลทั้งหมดของการขายประกัน สามารถบันทึก ค้นหา แก้ไขข้อมูลได้
                2. ระบบจัดการเอกสาร เป็นระบบที่จัดการเอกสารของทุกแผนกให้มีความเรียบร้อย สะดวกรวดเร็ว สามารถแก้ไข บันทึก ค้นหาข้อมูลได้





ขั้นตอนที่7
การซ่อมบำรุง


                การซ้อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ้อมแซมระบบอย่างรวดเร็ว












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น